ขั้นตอนทำเสาเข็มเจาะ

cover-website---centerpile-p2-foundation-blue_optimizedcover-website---centerpile-p1-foundation-blue-(1)_optimizedcover-website---centerpile-p0-blue-(1)_optimized

ขั้นตอนทำเสาเข็มเจาะ

งานรากฐานเป็นปัจจัยหลักหรือหัวใจสำคัญของงานก่อสร้าง ดังนั้นเราจะต้องทำความเข้าใจขบวนการที่เป็นมาตรฐาน เจ้าของบ้านหรือโครงที่ไม่มีความรู้ สามารถศึกษาให้รู้ทันเทคโนโลยี่ ในการดำเนินการก่อสร้าง หรือผลิตเสาเข็มเจาะหน้างานก่อสร้างนั้น จะมีขบวนการที่เป็นมาตรฐานอยู่ทั้งหมด 8 ขั้นตอน โดยแต่ละขั้นตอนผู้รับผิดชอบที่เป็นวิศกรจะเป็นผู้ควบคุมดูเเลให้ได้มาตรฐาน เริ่มต้นตั้งเเต่การเลือกสรรเครื่องมือ การตอก การเจาะ การเท ตลอดจนการตรวจสอบงาน ซึ่งจะมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

เสาเข็มเจาะ 35 นิ้ว เสาเข็มเจาะ 40 นิ้ว เสาเข็มเจาะ 50 นิ้ว เสาเข็มเจาะ 60 นิ้ว

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 1

เตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเข้าศูนย์กลางเสาเข็มเจาะ

ทำการปรับ 3 ขา ให้ได้ระดับศูนย์กลางของเสาเข็ม พร้อมตรวจสอบความถูกต้อง หลังจากนั้น ยึดแท่นเครื่องมือให้แน่น และใช้กระเช้าเจาะนำเป็นรูลึกประมาณ 1 เมตร

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 2

ตอกปลอกเหล็กเป็นการชั่วคราว

2.1 การตอกปลอกเหล็ก ขนาดและความยาว จะต้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 35 ซม 40 ซม 50 ซม 60 ซม ตามลำดับ โดยให้เสาเข็มเจาะ แต่ละท่อน มีความยาวประมาณ 1 เมตร ต่อกันด้วยระบบเกลียวในการทำงานจะตอกปลอกเหล็กผ่านชั้นดินอ่อน ซึ่งอยู่ด้านบนจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง เพื่อเป็นการป้องกัน การเคลื่อนพังของผนังรูเจาะในขั้นดินอ่อนและป้องกันน้ำ ใต้ดินไม่ให้ไหลซึมเข้าไปในรูเจาะ เพราะจะเป็นผลให้คุณภาพของคอนกรีตที่ผสมไม่ดีเท่าที่ควร
2.2 ควบคุมบังคับตำแหน่งให้ถูกต้อง และให้อยู่ในแนวดิ่ง โดยในการทำงาน การตอกปลอกเหล็กชั่วคราวลงไปแต่ละท่อนจะต้องตรวจสอบตำแหน่งศูนย์กลางของเสาเข็ม ตลอดจนแนวดิ่งอยู่เสมอ เพื่อเป็นการป้องงกันมิให้เข็มเจาะเอียง ไม่ตรง

ค่ามาตราฐาน ความเบี่ยงเบนที่อนุญาติ
• ความเบี่ยงเบนแนวราบ 5 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มเดี่ยว
• ความเบี่ยงเบนแนวราบ 7 เซนติเมตร สำหรับเสาเข็มกลุ่ม
• ความเบี่ยงเบนแนวดิ่ง 1 : 100 โดยรวม

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 3

การเจาะเสาเข็ม

3.1 อุปกรณ์ที่ใช้เจาะ ในช่วงดินอ่อนจะใช้กระเช้าชนิดมีลิ้นที่ปลายเก็บดินโดยใช้น้ำหนักของตัวมันเอง เมื่อกระเช้าถูกทิ้งไปในรูเจาะดินจะถูกอัดให้เข้าใปอยู่ในกระเช้าและจะไม่หลุดออกเพราะมีลิ้นกั้นอยู่ในเวลายกขึ้นมา ทำซ้ำกันเรื่อย ๆ จนดินถูกอัดเต็มกระเช้าจึงนำมาเทออก การเจาะจะดำเนินไปจนกระทั่งถึงขั้นดินแข็งปานกลาง จึงเปลี่ยนมาใช้กระเช้าชนิดไม่มีลิ้นที่ปลายเก็บต่อไปจนได้ความลึกที่ต้องการ
3.2 การเจาะเสาเข็ม จะต้องตรวจสอบการเคลื่อนพังของดินในขั้นที่ไม่มีปลอกเหล็กชั่วคราว ในระหว่างการเจาะเอาดินขึ้น จะหมั่นตรวจสอบว่าผนังดินพังหรือยุบเข้าหรือไม่ อย่างไร โดยสามารถดูจากชนิดของดินซึ่งเก็บขึ้นมา ซึ่งควรจะต้องสอดคล้องกับความลึกและคล้ายคลึงกับเข็มตันแรก ๆ แต่ถ้าเราตรวจสอบพบว่าดินเกิดเคลื่อนพังจะรีบแก้ไขในทันที โดยตอกปลอกเหล็กชั่วคราวให้ลึกลงเข้าไปอีก

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 4

ขั้นตอนตรวจสอบรูเจาะ ก่อนการใส่เหล็กเสริม

4.1 ตรวจวัดความลึก โดยวัดจากความยาวของสายสลิงรวมกับความยาวของกระเช้าตักดิน
4.2 ตรวจสอบก้นหลุม โดยใช้สปอร์ตไล้ท์ส่องดูก้นหลุมว่ามีการยุบเข้ามีน้ำซึมหรือไม่ กรณีที่มีน้ำซึมที่บริเวณก้นหลุมจะเทคอนกรีตแห้งลงไปประมาณ 50 ซม. และกระทุ้งให้แน่นด้วยตุ้มเหล็ก จากนั้นใช้ปูนทราย 1:1.5 เทลงไปประมาณ 30-50 ซม. ก่อนใส่เหล็กเสริม (ในกรณีที่มีน้ำซึมก้นหลุม)

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 5

การใส่เหล็กเสริม

5.1 ประเภทชนิดของเหล็กเสริม ส่วนเหล็กเส้นกลมตาม มอก. 20-2524( SR-24 ) ส่วนเหล็กเส้นข้ออ้อยตาม มอก.24-2524 ( SD-30 )
5.2 ขนาดและปริมาณเหล็กเสริม โดยการต่อเหล็ก จะใช้วิธีการต่อทาบไม่น้อยกว่า 40 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางและใช้ลวดผูกเหล็กผูกบิดให้แน่น
5.3 ขั้นตอนใส่เหล็กเสริม ให้หย่อนกรงเหล็กให้อยู่ตรงกลางของรูเจาะจนถึงระดับที่ต้องการ และยึดให้แน่นหนา เพื่อที่ขณะเทคอนกรีตกรงเหล็กจะไม่ขยับเขยื้อน

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 6

วิธีการเทคอนกรีต

6.1 คอนกรีตที่ใช้จะต้องเป็นคอนกรีตผสมหน้างาน หรือคอนกรีตผสมเสร็จ ( READY MIX ) ที่มีกำลังอัดประลัยที่ 28 วัน เมื่อทดสอบโดยแท่งทรงกระบอกขนาด 15 x 30 ซม. ( cylinder ) ไม่น้อยกว่า 210 กก/ซม3 ซีเมนต์ที่ใช้เป็นซีเมนต์ปอร์มแลนด์ ประเภท 1 และใช้ความยุบของคอนกรีตประมาณ 8-12 ซม. เพื่อให้คอนกรีตเกิดการอัดแน่นด้วยตัวเองเมื่อเทลงรูเจาะไปแล้ว
6.2 วิธีเทคอนกรีต เมื่อรูเจาะได้รับการตรวจสอบและอนุมัติให้เทคอนกรีตได้ จะรีบทำการเทคอนกรีตทันทีเพื่อไม่ให้รูเจาะอ่อนตัวหรือกระทบความชื้นในอากาศนานเกินไปจนสูญเสียแรงเฉือนได้ การเทคอนกรีตจะเทผ่านกรวย ปลายกรวยเป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซม. ยาว 3.0 เมตร คอนกรีตจะหล่นลงตรง ๆ โดยไม่ปะทะผนังรูเจาะหรือกรงเหล็กจะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีต
6.3 ขั้นตอน วิธีทำให้คอนกรีตแน่นมากยิ่งขึ้น เมื่อทำการเทคอนกรีตถึงระดับ -5.00 ถึง -3.00 จากระดับดินปัจจุบันจะทำการอัดลมเพื่อให้คอนกรีตอัดตัวแน่นมากขึ้น

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 7

ถอดปลอกเหล็กชั่วคราว

เมื่อเทคอนกรีตให้มีระดับสูงกว่าปลอกเหล็กชั่วคราวพอสมควรแล้ว จึงจะเริ่มถอดปลอกเหล็กขึ้น โดยปกติขณะถอดปลอกเหล็กจะต้องให้มีคอนกรีตอยู่ภายในปลอกเหล็กไม่น้อยกว่า 3 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันมิให้ชั้นดินอ่อนบีบตัว ก็จะทำให้ขนาดเสาเข็มเจาะเปลี่ยนไป และเป็นการป้องกันมิให้น้ำใต้ดินไหลซึมเข้ามาในรูเจาะก่อนที่จะถอดปลอกเหล็กชั่วคราวออกหมด จะต้องเติมคอนกรีตให้มีประมาณเพียงพอและเผื่อคอนกรีตให้สูงกว่าระดับที่ต้องการประมาณ 30-75 ซม. ในกรณีที่หัวเสาเข็มอยู่ต่ำจากระดับดินปัจจุบัน เพื่อป้องกันมิให้หัวเข็มที่ระดับที่ต้องการสกปรกเนื่องจากวัสดุหรือเศษดินร่วงหล่นลงไป ภายหลังการถอดปลอกเหล็กออกหมดแล้วนั่นเอง

เข็มเจาะขั้นตอนที่ 8

บันทึกรายงาน หรือREPORTเสาเข็ม

บันทึกรายงานการทำเสาเข็มเจาะ
1. หมายเลขบ่งกำกับเสาเข็มแต่ละต้น
2. วันเวลาที่เจาะ ตลอดจนเวลาแล้วเสร็จ เวลาเริ่มเทคอนกรีต เวลาถอนท่อเหล็กชั่วคราวจนแล้วเสร็จ
3. ระดับดิน ระดับตัดหัวเข็ม ระดับความลึกปลายเสาเข็ม ความยาวของท่อเหล็ก ปลอกชั่วคราว
4. ความคลาดเคลื่อนของศูนย์เข็ม และระยะเบี่ยงเบนของเสาเข็มในแนวดิ่ง
5. รายละเอียดของชั้นดินที่เจาะลงไป
6. รายงานเหล็กเสริมในเสาเข็ม และปริมาณคอนกรีต
7. อุปสรรที่เกิดขึ้น หรือเหตุผิดปกติต่าง ๆ
8. ค่าวินิจฉัย สั่งการ ของเจ้าหน้าที่อาคาร , วิศวกรผู้ออกแบบ , ผู้ควบคุมงานของเสาเข็มแต่ละต้น