เสาเข็มเจาะแบบแห้ง (dry process) การทำงานในพื้นที่จำกัด (เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก)

cover-website---centerpile-p2-foundation-blue_optimizedcover-website---centerpile-p1-foundation-blue-(1)_optimizedcover-website---centerpile-p0-blue-(1)_optimized

เสาเข็มเจาะแบบแห้ง (dry process) การทำงานในพื้นที่จำกัด (เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก)

ติดตั้งสามขา (Tripod Rig) การทำงานในพื้นที่จำกัด (เสาเข็มเจาะขนาดเล็ก)

  • ระยะห่างจากผนังไม่ต่ำกว่า 0.75 เมตร
  • ต้นมุมต้องแทยงมุมไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
  • ระยะความสูงจากพื้นไม่ต่ำกว่า 3 เมตร
  • เมื่อเจาะถึงชั้นทรายต้องหยุดเจาะ
  • เมื่อเจาะเจอชั้นน้ำต้องหยุดทันที
  • พื้นที่เจาะต้องอยู่ในแนวระนาบเรียบ
  • พื้นที่ต้องไม่เป็นดินเลนโคลนลึก

เสาเข็มเจาะ ชนิดนี้มีขนาดเล็กและความลึกไม่มาก เส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่สุด 60 ซม. ความลึกไม่เกิน 29 ม. โดยทั่วไปที่พบเห็นจะกำหนดปลายเสาเข็มที่ระดับ 21 ม.หรือถึงชั้นทราย ซึ่งชั้นทรายที่ว่านี้ในกรุงเทพมหานครช่วงกลางๆเมืองเช่น สีลม รองเมือง เพลินจิต อุรุพงษ์ บางกะปิ พระโขนง เป็นต้น เป็นชั้นทรายปนดินเหนียวหรือทรายปนดินตะกอนสีเหลือง ( Clayey sand or silty sand) มีสภาพอ่อนเละๆ ใช้มือบีบให้เสียรูปได้ง่าย เป็นดินชุ่มน้ำสังเกตุได้จากความชุ่มแฉะของดิน และนั่นแสดงว่าดินชั้นนี้เป็นชั้นดินที่มีน้ำ หากขุดเจาะถึงดินชั้นนี้แล้วทิ้งไว้สักพักหนึ่งจะพบว่าบริเวณก้นหลุมเจาะมีน้ำ ชั้นทรายชั้นนี้จัดเป็นทรายชั้นแรกที่พบเจอ(First sand Layer) ระดับความลึกอยู่ที่ประมาณ 19 – 22 ม.

นอกตัวเมืองออกไป เช่น บริเวณงามวงศ์วาน แจ้งวัฒนะ รังสิต นวนคร บางเขน เป็นต้น จะพบชั้นทรายที่ระดับตื้นกว่า คือประมาณ 16-18ม. ทรายที่พบมักจะเป็น Clean sand และด้วยเหตุที่น้ำไหลผ่านทรายได้ดี ดังนั้นเมื่อขุดเจาะดินถึงชั้นทราย น้ำจะไหลเข้าหลุมเจาะ แม้จะพยายามลงปลอกเหล็กกันดิน(Casing)ลงไปถึงชั้นทรายถึงระดับปลายเข็มที่ต้องการก็ไม่สามารถป้องกันน้ำได้ เพราะน้ำจะยังคงไหลเข้าใต้ปลายปลอกเหล็กตลอดเวลา วิธีแก้ไขทางเดียวก็คือต้องกดปลอกเหล็กต่อลงไปให้ถึงดินเหนียวที่อยู่ใต้ชั้นทราย วิธีนี้ดินเหนียวที่มีค่าการซึมผ่านได้ต่ำ จะช่วยป้องกันน้ำไม่ให้เข้าปลายหลุมเจาะได้ แต่ก็จะเป็นการบังคับให้จำเป็นต้องเปลี่ยนระดับปลายเข็มไปอยู่ในชั้นดินเหนียวด้วย ทั้งนี้เพราะหากระดับดินที่ขุดเจาะยังอยู่ในปลอกเหล็กกันดิน ดินส่วนที่เหลือช่วงปลายปลอกเหล็กจะอุดตันกันไม่ให้คอนกรีตหรือเหล็กเสริมไหลลงขณะถอนปลอกเหล็กกันดินขึ้น (เปรียบเสมือนกับจุกก๊อกที่ปิดปลายขวดกันน้ำไหลออกนั่นเอง) คอนกรีตและเหล็กเสริมจะถูกยกขึ้นพร้อมกับปลอกเหล็กกันดิน ทำเสาเข็มเจาะไม่เสร็จสมบูรณ์แถมเครื่องมือยังอาจเสียหายอีกด้วย

การ เจาะ เสาเข็ม  แบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ดังนี้ 

1. การลงปลอกเหล็กชั่วคราว เมื่อตั้งเสาสามขา(Tripod)ในตำแหน่งที่กำหนด ใช้ลูกตุ้มเหล็กน้ำหนัก 900กิโลกรัม ตอกปลอกเหล็กชั่วคราวซึ่งมีความยาว 1.20–1.50เมตรลงดิน โดยแต่ละท่อน จะยึดติดด้วยเกลียว โดยจะตอกลงไปจนถึงระดับชั้นดินที่มีความแข็งแรงเพียงพอ เพื่อป้องกันการพังทลายของดินลงมาในหลุมที่ขุดเจาะ

2.การขุดเจาะดินด้วยกระเช้าเก็บดิน (Bucket) ใช้กระเช้าเก็บดิน (Bucket) ขุดเจาะเอาดินในปอกเหล็กชั่วคราวออกจนถึงระดับความลึกที่ต้องการ ทำการตรวจวัดระดับความลึกก้นหลุมด้วยเทปวัด ก่อนดำเนินการขั้นตอนต่อไป

3. การใส่เหล็กเสริม นำเหล็กเสริมที่มีความยาว 10+5+5 เมตร และระยะการต่อทาบของเหล็กในแต่ละวงเป็น40เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กตามมาตรฐาน วสท.และมีระยะห่างระหว่างเหล็กปลอกไม่เกิน 0.20 เมตรใส่ในท้อเหล็กที่เจาะ โดยยกให้ปลายเหล็กพ้นจากก้นหลุมประมาณ 0.50 เมตร เพื่อประคองโครงเหล็กให้อยู่ตรงกลางหลุมเจาะจะต้องใส่ลูกปูน (Mortar) กันไว้เป็นระยะ โดยให้มีระยะห่าง (Covering) ไม่น้อยกว่า 7.5 เซนติเมตรโดยรอบ

4. การเทคอนกรีต การทเคอนกรีตนั้น ต้องเทผ่านกรวยเทคอนกรีต ( Hopper ) เพื่อให้คอนกรีตหล่นกลางหลุม โดยไม่ปะทะกับผนังรูเจาะ ซึ่งจะช่วยลดการอยกตัวของคอนกรีต และจะช่วยให้เกิด Self compaction จึงมีการควบคุมค่า Slump Test ให้อยู่ระหว่าง 10 - 12.5 ซ.ม. โดยการเทนั้นต้องเทให้เต็มหรือเกือบเต็มหลุม ก่อนจะทำการถอนปลอกเหล็ก เพื่อให้เห็นความต่อเนื่องและมองเห็นการยุบตัวของคอนกรีตได้ชัดเจน เพื่อเป็ฯการตรวจสอบในระดับหนึ่งว่าเข็มมีความสมบรูณ์ตลอดความยาว

5. การถอนปลอกเหล็ก การถอนปลอกเหล็กหรือ Casting ขึ้นนั้น จะทำการถอนขึ้นทีละ 1 ท่อน โดยขณะถอนนั้นต้องให้มีปูนอยู่ใน Casting ตลอด เพื้อป้องกันไม่ให้ดินรอบข้างบีบอัดตัวจนทำให้หัวเข็มเสียรูปทรง หรือกันน้ำใต้ดินไหลเข้ามาในรูเจาะ และเมื่อคอนกรีตยุบตัว จะต้องทเคอนกรีตตามลงไปเพื่อให้ได้ตามระดับที่ต้องการ โดยปกติหัวเสาเข็มเจาะ จะต้องเผื่อระยะไว้เพื่อสกัดคอนกรีตที่มีสิ่งสกปรกออกประมาณ 30 - 50 ซ.ม.

6. ทำเสาเข็มต้นต่อไป การทำเสาเข็มเจาะต้นถัดไป ต้องอยู่ห่างจากเสาเข็มเจาะต้นเดิม ไม่น้อยกว่า 6 เท่า ของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม แต่หากเกิดกรณี่ที่มิสามารถหลีกเหลี่ยงได้ โดยต้องเจาะเสาเข็มโดยที่ระยะห่างไม่ถึง 6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางนั้น ควรทิ้งระยะเวลาให้เสาเข็มต้นที่เทปูนไปแล้วเซ็ตตัวอย่างน้อย 24 ชั่วโมง และเมื่อทำงานเสร็จครบตามจำนวนต้นแล้ว ก็จะมีการทำความสะอาดพื้นที่เพื่อให้ทีมงานอื่น เข้ามาทำงานต่อได้อย่างราบรื่นไร้ปัญหา


ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *